“With its finger on every mode of living in the contemporary today, the Cold War and the infrastructure that it had established, thus, lives on as a spectral force, constituting us structurally, perceptually, materially and conceptually. As a ghost, the Cold War thrives, out of place, and out of joint, between life and death, between human and non-human scales, between machines and their revamped counterparts.”
- The Forest Curriculum, Media Ghostings: Three And A Half Hauntings of the Vietnam War(2019), ACT Journal #77
‘The Ghost War’ brings together video, print and sound works by Rohini Devasher and Sung Tieu. How have the infrastructures of war in the 20th Century produced the contours of the worlds we inhabit today? And how do these layered histories of war continue to haunt geographies and landscapes? The show engages with the particular position of Thailand in Southeast Asia, particularly during the Cold War, and the pivotal role it played during the American War in Vietnam.
นิทรรศการ The Ghost War นำเสนอผลงานวีดีโอ ภาพพิมพ์ และเสียง โดย Rohini Devasher และ Sung Tieu มีวัตถุประสงค์เพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นผลพวงจากสงครามในศตวรรษที่ 20 ที่ยังมีผลต่อสภาพของโลกที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้อย่างไร? และประวัติศาสตร์อันซับซ้อนของสงครามที่ยังคงตามหลอกหลอนสภาพภูมิศาสตร์และภูมิภาค (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) อย่างไร? The Ghost War มีความเกี่ยวข้องกับจุดยืนของประเทศไทยในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น และบทบาทที่สำคัญของประเทศในระหว่างสงครามอเมริกาในเวียดนาม
ผลงานของศิลปินชาวเวียดนาม/เยอรมัน Sung Tieu เปิดเผยให้เห็นถึงประวัติศาสตร์สงครามในเวียดนามที่มันถูกมองข้าม ผ่านการถ่ายทอดเรื่องเล่าส่วนตัว, วัตถุอ้างอิง, และวิธีการนำเสนอทางสุนทรียศาสตร์ ในผลงาน Ghost War เธอดึงประวัติศาสตร์ของ ‘Operation Wandering Ghost' ของ PSYOPS ที่มีการใช้เสียงเป็นเครื่องมือในการทำสงครามกับเวียดกง โดย CIA และทหารสหรัฐใช้ค่ายรมสูร จังหวัดอุดรธานีเป็นฐานทัพ มีการพัฒนาผลิดเสียงที่มีความหลอกหลอน ออกอากาศในป่า เพื่อที่จะบังคับเวียดกงให้ยอมจำนน ศิลปินหยิบยกคุณสมบัติเฉพาะของเสียง ที่สามารถหลอกหลอน ปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่ และผลกระทบระยะยาวของสงครามต่อชุมชน ผ่านรูปแบบงานศิลปะจัดวางเสียงและวีดีโอ
และในหัวข้อเดียวกันนี้ที่เกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิศาสตร์และสงคราม ผลงานของ Rohini Devasher ให้ความสนใจกับการสร้างวาทกรรมทางวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นไปที่เวลาทางธรณีวิทยา (Deep Time) และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ในนิทรรศการครั้งนี้เธอนำเสนอผลงานวิดีโอที่เป็นจินตนาการของเธอในชื่อ ’Shiverring Sands’ และชุดงานภาพพิมพ์ที่มีเนื้อหาเดียวกัน ที่เกี่ยวกับที่มาของซากปรักหักพังที่อยู่บนชายฝั่งทะเลของประเทศอังกฤษ สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยศิลปินแกะรอยย้อนเวลาไปยังสิ่งที่ยังหลอกหลอนซากปรักหักพังที่แปลกประหลาดเหล่านี้ เธอใช้วิธีการเล่าเรื่องด้วยวิธีการใช้วิดีโอสลับกับข้อความโดย Laura Raicovich จากผลงานที่มีชื่อว่า 'Lightning Fields' ของ Walter de Maria
Devasher ทักทอบริบททั้งสองบทเข้าด้วยกันอย่างมีจังหวะที่สละสลวย รวมทั้งจินตนาการประวัติศาสตร์ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์แบบชายนิยม และผลกระทบระยะยาวในพื้นที่แห่งนั้น
The Ghost War ชวนให้ผู้ชมร่วมจินตนาการใหม่ ถึงกรอบความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ของสงครามในภูมิภาคนี้ เผยให้เห็นถึงประวัติเฉพาะและผลลัพธ์ที่มีความซ้อนเร้นผ่านนิทรรศการครั้งนี้ เพื่อท้ายที่สุด ทำให้เราเริ่มสำรวจและวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับจักรวาลและ ของประวัติศาสตร์ด้านอื่นๆเช่นกัน
The ruins of the Ramasun American military base near Udon Thani, becomes a potent point of departure for this exhibition. During the war, Ramasun served as the base of many of the United States’ intelligence operation, as well as the PSYOPS, a wing dedicated to tactics of psychological warfare. One of the PSYOPS’s most fascinating operations was called ‘Operation Wandering Soul’. In traditional Vietnamese belief, if a body is improperly buried, the soul wanders the earth forever. Taking off from this, PSYOPS composed a soundtrack designed to be blasted into the forests which the Viet Cong inhabited, by soldiers with speakers mounted in backpacks; the content of this track consisted of traditional chants, sounds of ghosts, overlaying a conversation between the ‘wandering soul’ of a dead Viet Cong soldier, discouraging his family from joining the resistance against American imperialism.
Responding to this, Sung Tieu presents ‘Song for Unattended Items’, an 11-channel sound installation where she appropriates this form that was used as a weapon against the Vietnamese resistance and recomposes her own paean to these histories of violence. Using a series of bags borrowed for the duration of the exhibition, each singing a different song, she layers archival and found sounds to produce a haunting environment, that performs a transposition of landscapes.
Delving further into these histories, the video work ‘No Gods, No Masters’ uses archival sounds from the original Ghost Tape No. 10, and juxtaposes this with footage from forests where napalm was used during the war, to clear the space for the invading US forces. The forest itself thus became as much of an enemy of the American army as the Viet Cong, and they constantly attempted to surround, contain or control its densities. The forest thus bears the memories of this violence, its vegetation and the forms of life that inhabit it, forever marred by napalm’s corrosive presence. Tieu then draws us into the intimate space of mourning, where members of her family sit in a circle and chant and perform rituals of remembrance. By bringing these layered spaces into contact, she explores the many afterlives of war, existing as physical trace, as cultural artifact, as official narrative, and traces their entanglements.
Moving off the land, and into the territories of Deep Time, Rohini Devasher’s ‘Shivering Sands’ is structured around a journey to a number of Maunsell forts off the southern coast of the UK. Built during Second World War, these forts were meant to act as anti-aircraft defense systems; they now stand in the middle of the sea as almost-forgotten sentinels, their strange forms rising out of the water. She interjects passages from an essay by Laura Raicovich about Walter de Maria’s ‘Lightning Fields’ that she cuts up and rearranges and inserts into the floating video. Water de Maria’s work was a seminal piece of Land Art, where hundreds of steel rods were planted in a desert landscape of New Mexico, in an area with high thunderstorm activity. Raicovich writes how the work “stitches the earth and sky together”, reshaping the relationship between man and landscape. Devasher’s weaving together of these two histories, both significant moments of a masculinist reshaping of terrains in the 20th Century, allow us to think about monumentality and the afterlives of forms and the significance of scale in human action. The video produces a sensation of being outside of time, and indeed beyond the time of human existence, where histories collapse into each other. It seems to imagine a deserted planet, destroyed by human activities such as war or man-made climate change renders us extinct, and all that is left are unintentional monuments that stand quietly guard.
Devasher de-territorializes landscape, unmooring it and setting in motion. Landscapes, thus, are no longer static, and instead begin to roam. In the accompanying series of prints entitled ‘Field Notes’, the Maunsell forts begin to wander the earth, like AT-AT Walkers from Star Wars. Presented as a series of archival prints, they appear as both artifact and fiction, presenting impossible histories and precarious futures
‘The Ghost War’ presents a speculative journey that attempts to come to terms with not only histories of violence, but also their continuation into presents and futures. These ghosts are insidious, shaping and infiltrating narratives, but remaining largely invisible. The works presented here provide a framework from which to unravel these relationships and imagine a politics otherwise.
“สงครามเย็นและโครงสร้างพื้นฐานได้ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงดังกล่าว ได้แตกขยายกิ่งก้านไปในทุกอณูของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน มันยังคงมีชีวิตอยู่ ราวกับพลังมืดที่มีผลต่อสังคมทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเชิงรับรู้สาระสำคัญ เชิงวัตถุ หรือกระบวนการทางความคิด ผลกระทบจากสงครามเย็นที่ดูเหมือนเป็นผีในเงามืดเติบโตอย่างผิดที่ผิดทาง ผิดจังหวะของชีวิตกับความตาย ผิดเพี้ยนมาตราวัดความเป็นมนุษย์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ หรือแม้แต่เครื่องจักรกลหรือวัตถุ ที่ถูกดัดแปลงเพื่อนำใข้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างไป (หลังสงคราม)”
—คัดจากบทความ Media Ghostings: Three And A HalfHauntings ในวารสาร ACT ฉบับที่ 77 โดย The Forest Curriculum
The Ghost War นำเสนอผลงานวีดีโอ ภาพพิมพ์ และเสียง โดย Rohini Devasher และ Sung Tieu มีวัตถุประสงค์เพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นผลพวงจากสงครามในศตวรรษที่ 20 ที่ยังมีผลต่อสภาพของโลกที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้อย่างไร? ประวัติศาสตร์อันซับซ้อนของสงครามที่ยังคงตามหลอกหลอนสภาพภูมิศาสตร์และภูมิภาค (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) มากน้อยเพียงใด? ผลงานครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกับจุดยืนของประเทศไทยในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น และบทบาทที่สำคัญของประเทศในระหว่างสงครามอเมริกาในเวียดนาม
จุดเริ่มต้นของนิทรรศการครั้งนี้มาจากซากที่หลงเหลือจากค่ายรมสูร จังหวัดอุดรธานี ที่ทหารอเมริกันใช้เป็นฐานทัพปฏิบัติการข่าวกรองหลายภาระกิจ รวมถึง PSYOPS ซึ่งเป็นปฎิบัติการกลยุทธ์การทำสงครามจิตวิทยา หนึ่งในการปฎิบัติการที่น่าสนใจของ PSYOPS ใช้ชื่อว่า ‘Operation Wandering Soul’ มีที่มาจากความเชื่อดั้งเดิมของชาวเวียดนาม ที่หากศพถูกฝังอย่างไม่เหมาะสม วิญญาณจะวนเวียนบนโลกภพตลอดกาล ปฎิบัติการ PSYOPS สร้างเสียงที่ถูกออกแบบมาเพื่อออกอากาศในป่าที่ทหารเวียดกง อาศัยอยู่ ใช้วิธีการนำลำโพงติดกับเป้สะพายหลังของทหาร เนื้อหาของเสียงนี้ประกอบไปด้วย บทสวดดั้งเดิม, เสียงผี, การพูดคุยกันระหว่าง "วิญญาณพเนจร"ของทหารเวียดกงที่ตายแล้ว ทำให้ครอบครัวของเขาไม่กล้าเข้าร่วมต่อต้านการเข้ามาเผยแพร่อิทธิพลของประเทศอเมริกา
Sung Tieu นำเสนอ ‘Song for Unattended Items’ เป็นงานศิลปะเสียงจัดวาง 11 ช่องทาง ศิลปินนำรูปแบบงานชิ้นนี้มาจากการใช้อาวุธต่อสู้การต่อต้านของเวียดนาม ด้วยการออกแบบเสียงเพลงที่มีการปลุกเร้าที่เกี่ยวข้องประวัติศาสตร์แห่งความรุนแรงดังกล่าว ศิลปินใช้กระเป๋าที่ถูกขอยืมมาใช้ตลอดระยะเวลาการจัดแสดง กระเป๋าแต่ละใบส่งเสียงเพลงออกมาแตกต่างกัน เป็นการจัดวางวัตถุและเสียงต้นฉบับที่ศิลปินค้นหามาได้ เพื่อสร้างพื้นที่ให้ความรู้สึกหลอกหลอนและแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายทางภูมิศาสตร์
สำหรับงานวิดีโอ ‘No Gods, No Masters’ เป็นงานที่มีมติทางประวัติศาสตร์ที่ลึกลงไปอีก ใช้เสียงอัดจากต้นฉบับ Ghost Tape no. 10 วางคู่กับภาพสงครามในป่าเวียดนาม ที่มีการใช้ระเบิดนาปาล์มทำลายร้างพื้นที่ให้กองกำลังสหรัฐสามารถรุกคืบหน้าเข้าไปในพื้นป่าดังกล่าส ซึ่งได้กลายเป็นศัตรูสำหรับของกองทัพอเมริกันมากเท่ากับทหารเวียดกง กองทัพสหรัฐจึงพยายามล้อมรอบหรือควบคุมความหนาแน่นของมันอย่างต่อเนื่อง ป่าจึงกลายเป็นพื้นที่ทางความรู้สึกและความทรงจำอันเจ็บปวด พืชพันธุ์และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าถูกทำลายอย่างถาวรจากการใช้ระเบิดนาปาล์ม นอกจากนี้ศิลปินยังดึงผู้ชมลึกเข้าในงาน
ด้วยการทำนำเสนอภาพพิธีกรรมการไว้อาลัย ซึ่งสมาชิกในครอบครัวของเธอนั่งเป็นวงกลมสวดมนต์และประกอบพิธีกรรมระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว และด้วยการจัดวางผลงานที่มีความซับซ้อนหลายชั้นนี้ ช่วยให้ศิลปินสำรวจชีวิตหลังสงครามที่เกิดชึ้นจริงทั้งในแง่กายภาพ, สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม, ลำดับเหตุการณ์จริง และการแกะรอยหาความเกี่ยวพันอันยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นทั้งหมด
สำหรับผลงานของ Rohini Devasher ที่ชื่อว่า ‘Shivering Sands’ ให้ความสนใจกับการสร้างวาทกรรมทางวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นไปที่เวลาทางธรณีวิทยา (Deep Time) มีที่มาจากการเดินทางหลายครั้งของศิลปินไปยังป้อมปราการ Maunsell ทางชายฝั่งทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร ป้อมเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำหน้าที่เป็นระบบป้องกันทางอากาศ ในปัจจุบันมันกลายเป็นเพียงป้อมยามที่เกือบจะถูกลืม หรือเป็นแค่โครงสร้างแปลกประหลาดที่โผล่ขึ้นมาพ้นนำ้ทะเล ศิลปินได้สอดแซกบทความของ Laura Raicovich เกี่ยวกับ ‘Lightning Fields’ ของ Walter de Maria ที่เธอตัดเรียบเรียงใหม่ลงในวิดีโอดังกล่าว งานของ Walter de Maria เป็นส่วนหนึ่งของ Land Art ซึ่งมีแท่งเหล็กหลายร้อยแท่งถูกปลักในภูมิทัศน์ทะเลทรายของนิวเม็กซิโก ซึ่งเป็นพื้นที่มีพายุฝนฟ้าคะนองอย่ากมาก โดยนักเขียน Raicovich เคยเขียนถึงงาน (Land Art) ชิ้นนี้ว่าเป็นงานที่เชื่อมโลกและท้องฟ้าเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการปรับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับภูมิทัศน์ Devesher ได้ถักทอประวัติศาสตร์ทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน ถือว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญของการปรับเปลี่ยนภูมิประเทศในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผู้ชมคิดสะท้อนถึงจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ สิ่งที่หลงเหลืออยู่ทางโครงสร้างวัตถุ และผลพวงของการกระทำของมนุษย์ ผลงานวีดีโอชุดนี้ถูกสร้างเพื่อให้ผู้ชมตระหนักถึงความรู้สึกของการอยู่นอกเวลา เหนือการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่ประวัติศาสตร์ถูกพังทลายลง ดูเหมือนเป็นการจินตนาการถึงดวงดาวที่ถูกทิ้งร้าง ถูกทำลายโดยฝีมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสงครามหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มนุษย์เป็นผู้ก่อ นำไปสู่ความดับสิ้นสูญพันธุ์ สิ่งที่เหลืออยู่คืออนุสรณ์สถานป้อมปราการร้างว่างเปล่า
จากแนวความคิดดังกล่าว ศิลปินได้ยกเลิกหรือลบเลือนการวางแนวภูมิประเทศ ที่ยึดติดอยู่กับที่ และทำการตั้งค่าให้เคลื่อนไหวได้ ดังนั้นภูมิประเทศจึงไม่คงที่อีกต่อไป มีการเริ่มต้นขยับเคลื่อนไหว ส่วนงานชุดภาพพิมพ์ที่มีชื่อว่า ‘Field Notes’ เป็นชุดภาพพิมพ์ป้อมปราการ Maunsell ที่เริ่มท่องโลก คล้ายกับ AT-AT Walkers จาก ภาพยนตร์ Star Wars ราวกับเป็นทั้งเรื่องที่เกิดขึ้นจริงและจินตนาการ นำเสนอทั้งประวัติศาสตร์ที่เป็นไปไม่ได้และ อนาคตที่น่าหวาดเกรงในเวลาเดียวกัน
‘The Ghost War’ นำเสนอการเดินทางด้านความคิด เพื่อพยายามทำความเข้าใจทั้งในด้านประวัติศาสตร์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้น และการเชื่อมต่อของปัจจุบันและอนาคต ‘ผี’เหล่านี้เป็นสิ่งที่ดูมีเงื่อนงำ แอบสร้างและเล่าเรื่องแบบลึกลับแทรกซึมที่ไม่สามารถมองเห็นได้ นิทรรศการชุดนี้จึงถือว่าเป็นการเสนอกรอบความคิด จากการแกะรอยความเชื่อมต่อของสิ่งหรือเรื่องราวต่างๆรอบตัวมนุษย์ ทำให้ผู้ชมสามารถจินตนาการสถานการณ์ทางการเมืองในบริบทอื่นได้
เทคนิค: sculpture, video & sound installation, morlum music& text