EXHIBITION
INSTALLATION
MUSIC EVENT
PERFORMANCE
DANCE

Project-PRY 01

โปรเจกต์ไพร่ 01

Exhibition
12/23/2020
-
1/31/2021
BANGKOK
นิทรรศการ
12/23/2020
-
1/31/2021
กรุงเทพฯ

curator

ภัณฑารักษ์

ARTISTS

Nuttapon Sawasdee with Soifa Saenkkhamkon

Jirawut Ueasungkomsate with Somrak Sila

Adisak Phupa with Penwadee Nophaket Manont

ศิลปิน

ณัฐพล สวัสดี / สร้อยฟ้า แสนคำก้อน

จิรวัฒน์ เอื้อสังคมเศรษฐ์ / สมรัก ศิลา

อดิศักดิ์ ภูผา / เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์

No items found.

DESCRIPTION

Project-PRY 01, a collaboration of curatorial practices emphasising the creation of a new platform to exhibit contemporary artwork that goes beyond the orthodox gallery space ― to address ecology, to embed curators and artists working within communities to define and enact social change.

Project-PRY derives from the dialogues among the three founding members and collaborating curators on the subject of surviving the current virus and political pandemicreality. How will art practitioners and art institutions reinvent themselves?And who will do the reinventing? Will the main stewardship lie with institutions themselves, or will it shift more toward the public?

The purpose ofProject-PRY is to demonstrate the “immune systems” of society’s self-reflection through socio-political practice of contemporary art. When a “virus” such as the commodification of our senses attacks us, and the developing identity of the city’s life is challenged, the immune system is (or should be) active in restoring a plausible dialogue involving some sense of resistance. (Olafur Elaisson, 2003).

Three chosen artists working with three curators showcase artistic flexibility in solving problems and engaging with pressing social issues of often overlooked communities or regions. The project aims to encourage collaborations inartistic activities in order to respond to an urgent need to allow expression by long-suppressed critical voices of cultural activists.

 

About Artworks

'FreelanceClass'

Curated by Soifa Saenkkhamkon. Nuttapon Sawasdee is interested in exploring the emotional expressions of a deprived group of people who are driven away from state’s welfare system and support during the pandemic. By capturing expressive sounds of this group, Nattapon creates a sound installation titled Freelance Class that he intends to be a monument to the nation’s current temperament. The artist brings the sound of these emotions to communities, using motorcycle as a vehicle to reflect and reinforce the recognition of less fortunate existences whose voices are rarely heard.

'Echo Chamber'

Curated by Somrak Sila. Jirawut Ueasungkomsate focuses on human’s perception of noise fromt he social media platforms in the era of turbulent sounds and disinformation. Jirawut’s premise is that human’s ability to listen is rooted in personal history—rooted in who are the people that you trust or want to hear from.However, with the new “era” of the digital revolution, the voices of the people who have been repressed are forming into a loud, new accent that is different from what the Thai state propagates. The collective voices become a rebellious virus, infecting the “good morals” of the nation. Echo Chamber represents the moment in 2020 as it was created in digital audio file format, ready to spread, in the midst of the current thunderous noises around us.

'Sacrifice'

Curator, Penwadee Nophaket Manont has been traveling to Mahasarakam province to conduct curatorial research with a local community where the artist Adisak Phupa is based. By using a household utensils, Adisak presents a story that reflects the desperate submission of Isaan people to the ruling class and central power ofBangkok. Working with the community is an approach artist and curator use for narrating the vibrations of everyday life, the suppression by unjust structures, the limitation of choices between dream and distorted reality.Animated visuals and sound are created as a documentation to record the stories of those sacrificed to power.

*Special Thanks to our media partner - echo https://www.facebook.com/fookingecho/

**Project-PRY is funded by the International Relief Fund of the German Federal Foreign Office, the Goethe-Institut, and other partners: www.goethe.de/relieffund

"โปรเจกต์ไพร่ 01” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภัณฑารักษ์ที่เน้นสร้างงานรูปแบบใหม่ ๆ ในการแสดงศิลปะร่วมสมัยอันทะลุกรอบพื้นที่แสดงศิลปะแบบเดิม เพื่อให้เห็นถึงระบบนิเวศน์ของศิลปะ รวมทั้งการฝังทั้งตัวภัณฑารักษ์และศิลปินเข้ากับชุมชนเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

โปรเจกต์ไพร่ ถือกำเนิดจากการพูดคุยระหว่างภัณฑารักษ์ผู้ก่อตั้งสามคนที่ร่วมโครงการ ถึงประเด็นในการเอาชีวิตรอดจากการแพร่ระบาดของไวรัสและความวุ่ยวายทางการเมือง นักปฏิบัติการทางศิลปะและสถาบันทางศิลปะจะสามารถสร้างตัวตนขึ้นอีกครั้งอย่างไร? ใครจะเป็นผู้รังสรรค์ขึ้นใหม่? ผลงานและกระบวนการทำงานยังควรอยู่ภายใต้สถาบันเอง หรือควรมุ่งเน้นการเข้าถึงระดับปัจเจกชน?

โปรเจกต์ไพร่ มีเป้าหมายเพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึง "ระบบภูมิคุ้มกัน" ของสังคมผ่านปฏิบัติการทางศิลปะร่วมสมัยว่าด้วยประเด็นเชิงสังคม-การเมือง อาทิ 'เมื่อ "ไวรัส” โจมตีเราผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงเชิงผัสสะต่าง ๆ ของมนุษย์ให้กลายเป็นสินค้า และส่งผลให้ชีวิตคนเมืองถูกท้าทายด้านการพัฒนาตัวตน ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะ...หรือควรจะ ฟื้นฟูสัมผัสแห่งการต่อต้าน ผ่านบทสนทนาเท่าที่เป็นไปได้' (Olafur Elaisson, 2003)

ภัณฑารักษ์ทั้งสามคนได้คัดเลือกศิลปินสามคนเพื่อทำงานร่วมกัน นำเสนอให้เห็นถึงการเลื่อนไหลของผลงานศิลปะ ผ่านการมีส่วนร่วมเชิงสังคมไปจนถึงภูมิภาค สร้างการรับรู้ใหม่เกี่ยวกับประเด็นและแนวทางสู่การแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ซึ่งมักถูกมองข้าม โปรเจกต์นี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจกรรมทางศิลปะ เพื่อกระตุ้นให้นักกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมที่ถูกปิดปากเงียบมานาน ได้มีโอกาสเปล่งเสียง

 

เกี่ยวกับงานศิลปะ

'FreelanceClass'

สร้อยฟ้า แสนคำก้อน เป็นภัณฑารักษ์ทำงานร่วมกับศิลปิน ณัฐพล สวัสดี สืบเสาะการแสดงออกทางอารมณ์ของกลุ่มผู้ถูกริดรอนจากระบบสวัสดิการของรัฐและความช่วยเหลือในช่วงการแพร่ระบาด ณัฐพลอัดเสียงของคนกลุ่มนี้แล้วสร้างศิลปะเสียงจัดวางชื่อ Freelance Class เพื่อเป็นอนุสรณ์สะท้อนมวลอารมณ์ของชาติในปัจจุบัน ศิลปินนำเสียงของอารมณ์เหล่านี้มาสู่ผู้คนโดยใช้มอเตอร๋ไซด์เป็นยานพาหนะสะท้อนและแสดงให้เห็นถึงกลุ่มคนผู้ที่ส่งเสียงแต่มักไม่มีใครได้ยิน

'Echo Chamber'

สมรัก ศิลา เป็นภัณฑารักษ์ร่วมงานกับ จิรวัฒน์ เอื้อสังคมเศรษฐ์ เน้นไปที่การรับรู้เสียงรบกวนของมนุษย์จากสื่อโซเชียลในยุคแห่งความวุ่นวายทางเสียงและข้อมูลลวง จิรวัฒน์เสนอว่าความสามารถของมนุษย์ในการฟังหยั่งรากลึกจากอัติประวัติว่าใครคือคนที่พวกเขาเชื่อหรืออยากฟังเรื่องราว ในยุคปฏิวัติทางดิจิตัล เสียงของผู้ที่เคยกดทับกลายเป็นเสียงดังฟังชัดที่ต่างออกไปจากเสียงเก่าที่รัฐไทยเคยโฆษณา เสียงของมวลชนกลายเป็นไวรัสแห่งการกบฎที่ติดเชื้อ “คุณธรรม” ของชาติ งาน Echo Chamber (ห้องแห่งเสียงสะท้อน) แสดงถึงห้วงเวลาในปี 2020 ในรูปแบบไฟล์ออดิโอดิจิตัลพร้อมเผยแพร่ท่ามกลางเสียงเอะอะอึกทึกที่ล้อมรอบตัวเรา

'ส้งเวย'

ภัณฑารักษ์ เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์ ทำงานเชิงวิจัยชุมชม ณ บ้านขี จังหวัดมหาสารคามร่วมกับศิลปิน อดิศักดิ์ ภูผา ที่ซึ่งศิลปินปักหลักอยู่ อดิศักด์อาศัยเครื่องใช้ในครัวเรือนที่อาจดูดาษดื่นบอกเล่าเรื่องราวการจำยอมของชาวอีสาน ต่อชนชั้นนำและอำนาจศูนย์กลางในกรุงเทพฯ ศิลปินและภัณฑารักษ์นำเสนอความมีชีวิตชีวาของชีวิตประจำวัน ผ่านกระบวนการทำงานร่วมกับคนในชุมชน เพื่อบรรยายถึงบรรยากาศของการกดทับโดยโครงสร้างเชิงสังคมอันอยุติธรรม ข้อจำกัดของ ‘ทางเลือก’ ระหว่างความฝันและความเป็นจริงที่มักถูกทำให้บิดเบี้ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาพเคลื่อนไหวและเสียงถูกรังสรรค์และถ่ายทอดเป็นบันทึกเชิงสารคดี เก็บเรื่องราวของผู้คนที่ต่างสละตนแก่อำนาจ

 

*โปรเจกต์ไพร่ ขอขอบคุณ Media Partner - echo https://www.facebook.com/fookingecho/

**โปรเจกต์ไพร่ได้รับทุนจากกองทุน International Relief Fund จากกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี สถาบันเกอเธ่ และพันธมิตรอื่นๆ โปรดเยี่ยมชม www.goethe.de/relieffund

Freelance Class
Artist: Nuttapon Sawaddee
Curator: Soifa Saenkkhamkon

The outbreak of COVID-19 pandemic in Thailand brought about changes to way of living. The lockdown policy has impacted economic lives of all. We see news of those in peril situations across all board: homeless, poor people who live from hand to mouth, labor, orphans, people who need social welfare, immigrants, foreigners, middle-class, and office workers. Everyone is forced upon irresistible fate. They are just not the subjects of the terrible pandemic, but they are at the mercy of ineffective social system and inept politics. Even though the issue of wealth gap is precedingly campaigned for, the outbreak of pandemic has reminded us all that we cannot forget those at the bottom of the gap and only think of them when we want to make merit.  

Nuttapon Sawaddee wanted to explore the emotional expressions of a deprived group of people driven away from state’s welfare system and support during the pandemic, and he did so by collecting those expressions and turned them into a sound installation of a monument of blended emotions and feelings. These emotional sounds will be brought around town through motorbikes in hope to reflect and remind everyone of one another’s existence and of uncertainty whether to how long these smoldering shouts shall reign and who should hear them.      

“A monument is a cold construction, soulless and lifeless, built for people to pay respect to constructed memories. This material-based object stands motionless, unfazed, and quiet. It keeps shouting silence to people. For me, these bricks and sands are worthless. They merely wait for a decay or a destruction.  

I want to build a memory that is full of fresh and blood, without statue. We should remember sweat of people in the morning, a smile of a kid who lost his way in the afternoon and a croon of 150cc deafening at night, like a machine that takes us to freedom. A freedom that lasts only a couple of minutes.”

Echo Chamber
Artist: Jirawut Ueasungkomsate
Curator: Somrak Sila

Amidst chaotic and maddening noise, human innate ability to sound selection enables them to select only the sound they want to hear and construct their own way of understanding the world. Louder sound, of course, can draw people’s attention better, yet this may not ring true any longer during the digital revolution that shakes authority to make loud noise. Voices of the repressed have formed into their own unique accents, differing from the one Thai state has been propagating. These collective voices become a voice of rebel, a virus, a decadence to “good moral” owned by the nation. Echo Chamber reflects the moment of 2020. It comes in the format of a digital file, ready for distribution and able to exist in their own digital world. Their voices are moving, amidst the chaotic and maddening sound of the present.    

Echo Chamber is a digital file where audience can download online to listen. The working process comprises selecting interviews from the opposite sides of power such as the Thai government and proponents, those who are impacted by the policy of the government, students and adults who join different protests on the internet. These are recreated by recording people’s voices reading these interviews before editing these records side by side and overlapping through a stereo. The gist of the work focuses on current protests.  



Sacrifice
Artist: Adisak Phupa
Curator: Penwadee Nophaket Manont

The issue of financial well-being has not been sincerely solved. Poverty solution often focuses on cash handout through different projects such as Pracharath Card, Chim-Shop-Chai Cash Giveaway Program, and others that favors capitalists. When the global situation entered the pandemic crisis in the late 2019 until the lockdown on 22 March 2020, many people, especially those who live from hand to mouth had to stop working or lost their jobs. Even though the outlook of infection number in the country is bright, poverty and hardship has doubled and many times worse. Many lives awaited qualification screening to receive remedy from the government, as if they were expecting some deity to bless them, while many were forced to seek limited solutions amidst the crisis.

Adisak uses kitchen utensils to reflect desperate submission to power. Working with community also allows the artist to narrate the vibration of everyday lives, the unjust systematic structures, the junction of choices between dream and reality, the distorted social structure. Animated visuals and sound are created as a documentation to record the stories of those sacrificed to power.

----
Adisak Phupa (b.1978, Yasothon, Thailand) received a Bachelor's and a Master's degree at Mahasarakham University and Chiang Mai University respectively. He has become interested in installation art through the beliefs of ISAN people, initially towards their traditional Rocket Festival. He has participated in group exhibitions include Jim Thompson Art On Farm Project by Jim Thompson Art Center, Nakhon Ratchasima, Thailand (2011/2012), Little Big Print at PSG Art Gallery, Silapakorn University, Bangkok, Thailand (2013), Common Exercises : Isan Contemporary Report at Bangkok Art and Cultural Center, Bangkok, Thailand (2018), Ling Dao presented under KhonKaen Manifesto Pavilion at Biennale Jogja XV Equator#5, Yogyakarta, Indonesia (2019), Der Nang Der in Spectrosynthesis II–Exposure of Tolerance: #LGBTQ in Southeast Asia Exhibition (2019-2020). Adisak is also a lecturer at the Faculty of Fine Art, Mahasarakham University. Adisak Phupa is also a lecturer at the Visual Arts Program, Faculty of Fine - Applied Art and Cultural Science, Mahasarakham University

Freelance Class

ศิลปิน: ณัฐพล สวัสดี

ภัณฑารักษ์: สร้อยฟ้า แสนคำก้อน

 

จากสถานการณ์เหตุการณ์ โรคระบาด COVID-19 ในประเทศไทย สร้างการเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตของทุกคน  เนื่องจากนโยบาย Lockdown ปิดประเทศ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจการเงินของประชาชนทุกคน เราจะเห็นข่าวของคนที่ลำบาก ค่อยๆไล่ลำดับขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น คนไร้บ้าน คนจนหาเช้ากินค่ำ คนใช้แรงงาน เด็กกำพร้า หรือคนที่ต้องการการสงเคราะห์จากสังคม ผู้อพยพ คนต่างด้าว ชนชั้นกลาง พนักงานบริษัท ทุกคนถูกทำให้มีชะตากรรมที่เลือกไม่ได้ ทั้งหมดไม่ใช่เพราะความโชคร้ายของภัยโรคระบาดเท่านั้น แต่เป็นเพราะระบบสังคมและการเมืองของประเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพ  และแม้เราจะเห็นความเหลื่อมล้ำของชนชั้น ที่เราพยายามรณรงค์และแสวงหากันมาก่อนหน้านี้ แต่สถานการณ์ของโรคระบาด กระตุ้นเตือนให้เราไม่อาจหลงลืม คนเหล่านั้น และนึกถึงเฉพาะตอนที่เราอยากทำบุญอีกต่อไป

ณัฐพล สวัสดี ต้องการร่วมทำงานสำรวจ Expression ของกลุ่มประชาชนที่ถูกผลักจากระบบสวัสดิการสังคม จากเหตุการณ์โรคระบาด และ Collect Expression เหล่านั้น ผ่านรูปแบบของ Sound Installation ให้เป็นดั่งอนุสาวรีย์ที่เต็มไปด้วยเสียงแห่งอารมณ์ ความรู้สึก ที่หลอมรวมกัน โดยจะนำพาเสียงแห่งอารมณ์เหล่านั้น ไปปกคลุมบ้านเมือง ด้วยพาหนะมอเตอร์ไซค์  เพื่อหวังว่าจะสะท้อน และตอกย้ำให้เราทุกคน รับรู้ถึงการมีอยู่ของกันและกันโดยไม่อาจรู้เหมือนกันว่าเราต้องตะโกนเปล่งอารมณ์ที่อัดอั้นไปอีกนานเท่าไร และใครสมควรจะได้ยินมัน

“อนุสาวรีย์ คือ สิ่งถูกสร้างที่เย็นเยียบ ไร้วิญญาณ ไร้ชีวิต เพื่อให้คนเคารพกับความทรงจำที่ถูกสร้างขึ้น โดยที่วัตถุเหล่านั้นยืนไม่ไหวติงกับอะไรทั้งสิ้น อย่างเงียบงัน ไร้ซึ่งสรรพเสียงใดๆ และรูปปั้นเหล่านั้น กลับยังตะโกนเสียงเงียบใส่ผู้คนตลอดมา สำหรับผมแล้ว อิฐหินปูนทรายเหล่านั้นเป็นสิ่งไร้ค่า เพียงแค่รอวันเวลาผุพัง หรือไม่ก็ถูกทำลาย

ผมอยากจะสร้าง สิ่งที่ถูกจดจำ ที่เต็มไปด้วยชีวิตและเลือดเนื้อ ที่ปราศจากรูปเคารพ เราควรจดจำหยาดเหงื่อของผู้คนยามเช้า รอยยิ้มของเด็กน้อยหลงทางในยามบ่าย และเสียงเห่กล่อมของเครื่องยนตร์ 150 cc ที่แผดคำรามในยามค่ำคืน ดั่งเครื่องจักรที่พาเราไปสู่ อิสรภาพ อิสรภาพเพียงไม่กี่นาที”

 

Echo Chamber

จิรวัฒน์ เอื้อสังคมเศรษฐ์

ภัณฑารักษ์: สมรัก ศิลา

ท่ามกลางสรรพเสียงที่วุ่นวาย บ้าคลั่ง แต่ความสามารถในการเลือกฟังของมนุษย์ตั้งแต่อดีตทำให้พวกเขาหยิบจับเสียงเฉพาะที่ตนต้องการได้ และประกอบสร้างความรู้ความเข้าใจที่มีต่อโลกในแบบฉบับของตนเอง เสียงที่ดังกว่าย่อมมีคุณสมบัติที่เรียกร้องความสนใจจากผู้คนได้มากกว่า แต่มันอาจไม่ใช่ในช่วงยามที่การปฏิวัติดิจิทัลรุกเข้าสั่นคลอนอำนาจในการส่งเสียงให้ดัง เสียงของผู้คนที่เคยถูกกดทับ จึงก่อตัวกลายเป็นเสียงสำเนียงแปล่งที่ดังต่างออกไปจากที่รัฐไทยเคยป่าวประกาศ เสียงเหล่านั้นกลายเป็นขบถ กลายเป็นไวรัส กลายเป็นความเสื่อมต่อศีลธรรมอันดีของชาติในความหมายที่พวกเขาถือครอง Echo Chamber เป็นภาพแทนของห้วงเวลาขณะปี 2563 มันเป็นไฟล์เสียงดิจิทัลที่พร้อมแพร่กระจาย และดำรงตัวอยู่ได้ผ่านการเดินทางบนโลกดิจิทัลของตัวมันเอง โดยมีเสียงหลากหลายที่เคลื่อนไหวไปมา ท่ามกลางสรรพเสียงปัจจุบันที่วุ่นวาย บ้าคลั่ง

Echo Chamber จะเป็นไฟล์เสียงดิจิทัลที่เปิดให้ผู้ชมสามารถดาวน์โหลดออนไลน์ เพื่อเปิดฟังด้วยตนเอง ขณะที่กระบวนการทำงานจะเป็นการคัดเลือกนำบทสัมภาษณ์ของคนสองฝั่งอำนาจ เช่นรัฐบาลไทยและกลุ่มผู้สนับสนุน กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของภาครัฐ, นักเรียนนักศึกษาประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมการประท้วงรัฐบาลในประเด็นต่างๆบนโลกอินเตอร์เน็ต มาสร้างใหม่ด้วยการบันทึกเสียงคนทั่วไปอ่านคำสัมภาษณ์เหล่านั้น แล้วจึงนำเทปบันทึกมาตัดต่อเป็นเสียงวางคู่คนละฝั่งแต่ซ้อนทับกันในรูปแบบสเตอริโอ ขณะที่เนื้อหาของงานจะมุ่งเน้นไปที่เหตุการณ์ประท้วงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

 

สังเวย

ศิลปิน: อดิศักดิ์ ภูผา

คิวเรเตอร์: เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์

 

ปัญหาปากท้องของประชาชนในปัจจุบันไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างจริงจัง การบริหารการจัดการสภาวะความยากจนมักมุ่งเน้นไปที่การแจกจ่ายเงินผ่านโครงการต่างๆ เช่น บัตรประชารัฐ โครงการ ชิม-ช็อป-ใช้ และอีกหลายๆโครงการซึ่งล้วนแต่เอื้อต่อนายทุน เมื่อเหตุการณ์รอบโลกเข้าสู่วิกฤตโรคระบาดราวปลายปี 2562 จนกระทั่งภาครัฐเริ่มใช้มาตรการล็อคดาวน์เมื่อ 22 มีนาคม 2563 ส่งผลให้ประชาชนโดยเฉพาะคนหาเช้ากินค่ำต้องหยุดงานหรือแม้กระทั่งตกงาน แม้ขณะนี้สถิติของการแพร่ระบาดในประเทศดูจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ปัญหาความแร้นแค้นกลับยิ่งทวีความรุนแรงและเลวร้ายมากขึ้นเป็นหลายเท่าตัว ที่ผ่านมา หลายชีวิตต้องเฝ้ารอการตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อรับสิทธิ์เยียวยาจากภาครัฐ ราวกับคาดหวังให้อำนาจศักดิ์สิทธิ์เกิดขึ้นแก่พวกเขา ในขณะที่อีกหลายชีวิตต้องเผชิญกับการแสวงหาทางออกภายใต้ทางเลือกอันตีบตัน ท่ามกลางวิกฤต

 

อดิศักดิ์หยิบยกภาชนะในครัวเรือนมานำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนถึงการจำนนต่ออำนาจศักดิ์สิทธิ์อย่างสิ้นหวัง การทำงานร่วมกับคนในชุมชมยังบอกเล่าถึงแรงสั่นสะเทือนในชีวิตประจำวัน การถูกกดทับโดยโครงสร้างระบบที่ไม่เท่าเทียม รอยต่อแห่งทางเลือกระหว่างความฝันและความจริง ภายใต้โครงสร้างสังคมที่บิดเบี้ยว ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่บางเบาจากกลุ่มคนในสังคมเป็นการบันทึกเรื่องราวของคนที่ได้รับผลกระทบจากการสังเวยต่ออำนาจนั้น ๆ

STATEMENT/S

Text Link