EXHIBITION
INSTALLATION
MUSIC EVENT
PERFORMANCE
DANCE

Planet Krypton

Planet Krypton

Installation
4/26/2019
-
6/2/2019
BANGKOK
งานจัดวาง
4/26/2019
-
6/2/2019
กรุงเทพฯ

curator

ภัณฑารักษ์

ARTISTS

Prontip Mankong

Pisitakun Kuantalaeng

ศิลปิน

ภรณ์ทิพย์ มั่นคง

พิสฐิฎ์กุล ควรเเถลง

No items found.

Planet Krypton

Planet Krypton

Planet Krypton

No items found.

SPONSORS

สปอนเซอร์

No items found.

DESCRIPTION

‘Planet Krypton’ is an exhibition about the power how a powerfully disruptive experience can transform, rather than break, some people. It’s a story of how, for broken but open people, the toughest time of their life can remake them, and awaken them to a sense of empathy with the suffering of others. It’s about how the denial of freedom is an attack on people’s very souls, and how in some exceptional cases they can rise from it as more complete human beings with a deeper connection to others. It’s an exhibition about heroes.

Prontip’s story of being incarcerated for violating the lese majeste law might be seen as just another casualty of Thailand’s political wars. But if we look deeper, it is symbolic of the changes in our society. The country is rapidly falling into a deep social trough, where each person only fights for themselves, where connections between people are weakened by the blinkers that a repressive government puts on them. The result is a kind of tunnel vision. Hence the extreme divisions and tribal and political turf wars that are tearing the country apart.

But instead of allowing herself to be broken and lashing out with anger and resentment towards the world, Prontip chose to let change happen, and to become part of a community. She asked herself what her responsibility in the prison was, and by focusing on her new mission — to encourage the women to help each other survive this darkest time — she earned their trust and won the freedom to make a lasting difference. It’s the path she chooses that sets her free.

In collaboration with the conceptual artist Pisitakun Kuntalang, Planet Krypton offers an immersive experience to the audience and asks them how they would deal with radical disruption in their lives. It is part of an ongoing discussion about the potential of creativity to transform a harsh reality, as well as about the ways art activates the past in the present.

Somrak Sila, 2019
Curator

Planet Krypton ซึ่งเป็นนิทรรศการศิลปะแนว Immersive หรือการสร้างประสบการณ์เชิงประจักษ์ ที่ซึ่งผู้ชมจะถูกเชิญชวนให้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการผ่านสื่อหลากหลาย ประสบการณ์ต่างๆที่ผู้ชมเข้าร่วมนั้น ประสงค์ให้เกิดการนำไปสู่การเชื่อมต่อระหว่าง 'ความคลุมเคลือทางความคิด จินตนาการเฉพาะ และความเป็นจริงในสังคม' ที่คนทั่วไปมักเผลอมองข้ามไป

จุดเริ่มต้นของนิทรรศการมาจากความต้องการถ่ายทอดประสบการณ์จริงของ ภรณ์ทิพย์ มั่นคง นักกิจกรรมอดีตผู้ต้องขังในคดี ม.112 ให้ออกมาในรูปงานศิลปะร่วมสมัยในห้องสี่เหลี่ยมของ Gallery ภรณ์ทิพย์เป็นนักกิจกรรมทางสังคมและเป็นนักแสดงละครเวที เธอทำละครสะท้อนสังคม-การเมืองมาเป็นระยะยาวนาน และทำงานกับเด็กเป็นส่วนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2557 ภรณ์ทิพย์ถูกศาลตัดสินว่ากระทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีมีส่วนร่วมในละครเรือง ‘เจ้าสาวหมาป่า’ และต้องถูกจองจำเป็นเวลา 2 ปี 10 วัน และได้รับอิสระภาพเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น เธอได้กลายเป็นนักรณรงค์ช่วยเหลืออดีตนักโทษหญิง ให้สามารถใช้ชีวิตนอกเรือนจำได้ โดยนิทรรศการ Planet Krypton ภรณ์ทิพย์ได้นำผู้ชมเข้าไปรู้จักกับอดีตนักโทษหญิงเหล่านั้นมากขึ้น

เพื่อสร้างแนวทางใหม่สำหรับนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยว่าด้วยประเด็นอันละเอียดอ่อนในครั้งนี้ ทีมภัณฑารักษ์จึงได้เชิญ พิสิฎ์ฐกุล ควรแถลง มาร่วมสร้างบทสนทนากับ ภรณ์ทิพย์ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2561 พิสิฐกุลเป็นศิลปินไทยที่ทำงานบนพื้นฐานของการสำรวจประสบการณ์และกระบวนการทางความคิดของตนเอง ในการหาจุดเชื่อมโยงระหว่างประวัติศาสตร์และโครงสร้างทางสังคม-การเมือง เพื่อให้เข้าถึงโสตสัมผัสของผู้ชม พิสิฐกุลมักใช้สื่อผสมหลายชนิดในการเล่าเรื่องผ่านผลงานศิลปะของเขา และใช้วิธีการเล่าเรื่องที่มีอารมณ์ขัน เพื่อลดแรงเสียดทานของเนื้อหา

ในนิทรรศการ Planet Krypton ทั้งสองได้ร่วมกันค้นหาความหมายของความเป็นมนุษย์ ท่ามกลางสถานการณ์หรือสภาวะจองจำ อันเป็นเหตุให้ต้องจัดการกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเพื่อการอยู่รอด ซึ่งสภาวะดังกล่าวนำไปสู่การตั้งคำถามถึงเส้นแบ่งของความเป็นมนุษย์ ปัจจัยใดที่ส่งผลทำให้คุณค่าความมนุษย์ลดทอนลง หรือปัจจัยใดทำให้บางคนมีโอกาสใช้ศักยภาพของความเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มที่เพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดและรักษาตัวตนภายในของตนไว้ ในแต่ละวัน ภายใต้สภาพแวดล้อม สภาพทางภูมิศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ที่ถูกกำหนดท่ามกลางความแต่งต่างของแต่ละปัจเจก สภาวะการถอดความเป็นมนุษย์และการใช้ศักยภาพสูงสุดสู่การเป็นยอดมนุษย์จะปรากฏในรูปแบบใด

Sometimes we know that deep down in all of us, we are not normal.  We all have hidden sin in our heart. Even though we ourselves do not feel our secret is wrong, we know that those around us would view it as so. We secret that abnormality in the darkest place possible and do not let others know, see, hear or touch it. Because it a sin, a pain, something lacking in the virtues that others worship.

If a god were to gain human-like equalities, perhaps he would become more virtuous—or, on the other hand, perhaps he would become more evil. Becoming human-like is no more difficult whether you are a god or a monster, because being human depends more on power and ability. Virtue and sin depends on who gets to be human.  
But for this small and extremely ordinary person … concealing her abnormalities became the best option, even if doing so meant she could not know herself well and believe in her own power.  

If transported to a distant universe, you would have no way to knowing how many stars there determine goodness and evil, in constellations different to those of the superhero worlds you have seen on movie screens (which themselves are based on the worlds of humans). In a universe lightyears away, humans do not determine anything. There, nobody knows what it is to reach the peak of being human. Nobody can explain it clearly. Hey! Can you stop thinking about that boy who was bitten by a spider? This isn’t going to be that easy.

Perhaps the first thing that you will have to understand, no, feel is pain. That is the first step in becoming a human. Yes, every molecule of your body will be torn apart and remade into something of value, which will be so painful your heart will almost break. But if you survive, you will have developed from something weak into a human. And as you grow, you will be pained again and again, alerting you to your fragile inner state that is the source of both your internal and external growth.

Reaching one’s full potential as a human may involve extraordinary pain, more than is experienced by the average person and more than we could imagine. But you can be sure that this pain will lead you to be more aware of the potential within you as a human than is possible for the average person.

Many different things can pain a person. If the cause is legitimate and appropriate, our pain receives empathy and we do not hesitate to tell others about it. But if the pain we face is a pain that is borne from our own evilness, who can we tell?  Who can we tell if all the tribulations we face grow from our own sins, as defined on the star on which we live?
It may be that we are just peculiarities on your star, and your star is the training ground where we will grow our potential. Your damn prison has been built to detain us with the hope that we will be what you want once we exit—that’s how humans think, after all. Don’t you know that the prison you have built is becoming a tunnel of the dimension and time which will bring us over to the power source in our home planet.

When the pain fades away, we will know that we have broken free of that former humane and evolved into our full potential. The question is: will we be even more peculiar once we return to the star-world?

It's not easy that the people in this world would sit and listen to any kind of the stories of any strangers like us. Even though we had felt that we are super heroes but we didn't come from movie screen because, in fact, we walk around you, the human that never look at us as a hero but as just a sinner with no moral.

We are afraid of telling our stories to anyone, because we don't understand any shitty value and system created by the so called human. We are afraid, we are sick of the judgement and detests the way human look at us. It hurts so much to the point that we can't feel anything anymore. We finally realise that we're maturing and reaching to our full potential. We are not afraid to talk about the story of that dark planet anymore. Because one day, it could be you who have to go to this place and experience it like we do. When your time comes, we could only hope that you would believe in your potential as much as you can.

Prontip Mankong, 2019

Planet Krypton คือนิทรรศการเกี่ยวกับพลังที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์อันเลวร้ายและรุนแรงในชีวิต ที่บางครั้งแทนที่จะทำลายและบั่นทอนมนุษย์ กลับกลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่สร้างการเปลี่ยงแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยเล่าผ่านเรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่งที่ล้ม สูญเสีย แต่ไม่ยอมแพ้ ถึงแม้จะต้องตกอยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายที่สุดในชีวิต พวกเขายังสามารถลุกขึ้นยืนได้ใหม่ อีกทั้งยังตื่นรู้ และมองเห็นคนรอบข้างได้ชัดเจนขึ้นด้วยความเห็นอกเห็นใจ และมีความเข้าใจผู้อื่นที่กำลังเผชิญกับความทุกข์ทรมาณเช่นกัน มันคือนิทรรศการเกี่ยวกับฮีโร่นั่นเอง

เรื่องราวของภรณ์ทิพย์ ที่ถูกตัดสินจำคุกจากการละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอาจดูเหมือนเป็นผลจากความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย แต่หากมองให้ลึกกว่านี้ มันคือสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางสังคมของประเทศที่กำลังตกลงไปในหลุมดำ แต่ละคนอยู่และต่อสู้เพื่อตัวเอง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนถูกทำให้เปราะบางลง อันเป็นผลมาจากการกดขี่ข่มเหงของผู้มีอำนาจ สิ่งที่ตามมาก็คือผู้คนมีวิสัยทัศน์และจิตใจที่แคบลง สุดท้ายจึงเกิดความแตกแยก แบ่งขั้วทางความคิดอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความร้าวฉานจนแทบจะเกินเยียวยา

ถึงกระนั้น ภรณ์ทิพย์ไม่ยอมที่จะปล่อยให้ตัวเองล้ม โกรธ เกลียด หรือแค้นเคืองสังคม เธอเลือกที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นด้วยการปรับตัวเป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่เธอถูกบังคับให้อยู่ เธอตั้งคำถามถึงความรับผิดชอบของตัวเองในขณะที่อยู่ในเรือนจำ และมุ่งความสนใจไปที่ภาระกิจใหม่ นั่นคือการสนับสนุน เกื้อกูล และให้กำลังใจเพื่อนนักโทษหญิง ให้ทุกคนหันมาช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้สามารถผ่านช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดไปให้ได้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือภรณ์ทิพย์ได้รับความไว้ใจจากผู้คนที่ร่วมชะตากรรมเดียวกันกับเธอ และทำให้เธอได้รับสิทธ์ิที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน มันกลายเป็นทางออกที่ทำให้เธอได้รับอิสรภาพอย่างแท้จริง

นิทรรศการครั้งนี้เป็นการร่วมงานกันระหว่าง ภรณ์ทิพย์ และ พิสิฎ์ฐกุล ควรแถลง ศิลปินแนว conceptual โดยทั้งคู่นำเสนองานศิลปะแนว Immersive หรือการสร้างประสบการณ์เชิงประจักษ์ เป็นการตั้งคำถามให้กับผู้ชมหากต้องจัดการกับประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและรุนแรงในชีวิตของตนเอง นอกจากนี้นิทรรศการครั้งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาที่มีมาอย่างต่อเนื่องในยุคปัจจุบัน เกี่ยวกับพลังของความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถถ่ายทอดความจริงอันโหดร้ายออกมา และการที่งานศิลปะได้กลายเป็นสื่อกลางสำคัญในการดึงประเด็นเรื่องราวในอดีตให้มาปรากฎอีกครั้งในปัจจุบันได้

 สมรัก ศิลา
ภัณฑรักษ์

STATEMENT/S

Text Link