In physics, the sound intensity level reaches 85 decibels (dB) or stronger can cause a permanent damage to auditory system. Though it may seem the quieter the sound, the longer you can listen to without causing any hazard; hearing duration is nevertheless one important factor contributing to such derogation. Hence, exposure to any common sounds for a long period of time can cause permanent hearing loss, for some common sounds may be louder than we realize.
85-140 dB art exhibition presents contemporary sound and media installation works about imaginary silence, to explore the concept of how vibration-induced energy travels through the transmission medium to the brain in terms of both physiology and psychology, and possibly be restricted or tackled from various forms of exposure, emission and communication in each individual or society. The works have been intentionally selected as a challenge upon the ability to break free from these fetters inhibit and impair our ability to access, perceive, understand, analyze, investigate, question, suspect, or even differentiate between reality and illusion around us.
The work by Albrecht Pischel brings the audience to a state of delusion between hearing and visual perception. It also takes us to interrogate upon the outcome of surveillance system operation, which creates restriction in everyday life that visualization alone cannot properly represent.
Arnont Nongyao deliberately presents a space of variation occurred through time via his experiments with intervention in the quality of audio transmission. Such disturbance results in new dimension of hearing. But each receiver can perceive the details of sound wave and frequency with different sense.
While the painting of Paphonsak La-or implies between hearing limitation and result of voicing the taboo, through the overlap between past and present as well as interaction of people living in different place and status. But, they try to utter something conjointly on the virtual world.
The work by Pisitakun Kuntalang takes us across the trap of our complicated and fatigued perception of reality into the virtual world he’s experienced, to query the sense of existence, exiting and fleeing strategy from a society full of suppression. Discovering space within the senses may help us move on.
The interesting thing about the work by Sompot Chidgasornpongse is the familiar image we’ve seen everyday for a long time. The music Gymnopédies No.1 the artist uses in the work also has repeated melodies, seeming to deliberately create familiarity upon human senses and give rise to some value.
** 85-140 dB is part of a research and archive based exhibition project [R]Ejecting Mantra.
Organized by Rai.D Collective
Supported by Goethe-Institut Thailand and WTF Gallery
เมื่อกล่าวถึงระดับความดังของเสียงในเชิงฟิสิกส์เป็นที่รู้กันดีว่าระดับความดังที่ 85 เดซิเบล (dB) หรือมากกว่าอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายถาวรต่อระบบการได้ยินแม้จะดูเหมือนว่ายิ่งเสียงเบามากเท่าไรเราจะสามารถฟังได้นานและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆกระนั้น ระยะเวลาที่รับฟังเสียงยังเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเสียหายดังกล่าวได้เช่นกันการสัมผัสกับเสียงทั่วๆไปในบางลักษณะเป็นระยะเวลานาน จึงอาจนำไปสู่การสูญเสียการได้ยินแบบถาวรเนื่องด้วยเสียงบางเสียงอาจดังกว่าที่เราคิด
นิทรรศการ 85-140 dB นำเสนอผลงานศิลปะเสียงและสื่อจัดวางร่วมสมัยว่าด้วยความเงียบสมมติเพื่อสำรวจแนวคิดเกี่ยวกับพลังงานในรูปของเสียงทั้งในแง่สรีรวิทยาและจิตวิทยา ที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือนบางสิ่งผ่านตัวกลางบางอย่าง มายังสมองของมนุษย์ ซึ่งอาจถูกขีดขั้นหรือเหนี่ยวนำจากการ เปิดรับปลดปล่อย และสื่อสารโดยเสรีในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละบุคคลหรือสังคมหนึ่งๆ ผลงานที่ถูกคัดสรรมาจงใจท้าทายต่อความสามารถในการหลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการเหล่านี้ที่ฉุดรั้งและบั่นทอนสมรรถภาพในการเข้าถึง รับรู้ เข้าใจ วิเคราะห์ ตรวจสอบ ซักถาม สงสัย หรือแม้แต่แยกแยะ ระหว่างความเป็นจริงและมายาคติต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัวเรา
ผลงานของ อัลเบรจช์ พิซเชล นำผู้ชมสู่สภาวะลวงระหว่างการทำงานของสิ่งที่ได้ยินและสิ่งที่ตาเห็นทั้งยังพาเราร่วมสำรวจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติการของระบบตรวจตรา ซึ่งสร้างขีดจำกัดต่างๆท่ามกลางการใช้ชีวิตประจำวันทว่าปกติแล้ว เราไม่อาจจะรับรู้ถึงมันได้ผ่านการมองเห็นอย่างเป็นรูปธรรม
อานนท์ นงค์เยาว์ จงใจนำเสนอถึงช่องว่างแห่งความเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นตามกาลเวลาผ่านการทดลองแทรกแซงคุณภาพของสื่อในการส่งสัญญาณเสียง การรบกวนนี้นำมาซึ่งการได้ยินในอีกมิติทว่าผู้รับสารจะสามารถสังเกตหรือรับรู้ถึงรายละเอียดของคลื่นเสียงและความถี่ ผ่านสำนึกและสัมผัสที่ต่างกัน
ขณะที่ภาพเขียนของ ปพนศักดิ์ ละออ นำเสนอการเปรียบเปรยระหว่างขีดจำกัดของการได้ยินและผลลัพธ์ของการส่งเสียงอันต้องห้ามผ่านการทับซ้อนของห้วงเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านปฏิสัมพันธ์ของผู้คนที่ดำรงสถานะและอาศัยอยู่ในสถานที่แตกต่างกันทว่าพวกเขามีความพยายามเปล่งเสียงบางอย่างร่วมกันบนโลกเสมือน
ผลงานของ พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง พยายามพาเราก้าวข้ามหลุมพรางของความเป็นจริงอันซับซ้อนและเหนื่อยล้าเข้าสู่โลกเสมือนที่เขาเคยประสบ เพื่อตั้งคำถามถึงสำนึกในการดำรงอยู่ การหาทางออก และการหลบลี้ท่ามกลางสังคมอันเต็มไปด้วยการปิดกั้นเสรีภาพ การค้นพบช่องว่างภายในสำนึกเหล่านี้อาจช่วยนำเราสู่การเดินหน้าต่อไป
สิ่งที่น่าสนใจในผลงานของ สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์คือภาพคุ้นตาที่เราเห็นได้ทั่วไปในทุกๆวันมาเป็นเวลานาน ทั้งดนตรีประกอบ GymnopédiesNo.1 ที่ศิลปินหยิบมาใช้ในผลงานยังมีท่วงทำนองอันซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งดูเหมือนจงใจสร้างให้ประสาทสัมผัสของมนุษย์เกิดความคุ้นเคยวนไปเรื่อยๆจนก่อให้เกิดคุณค่าบางอย่าง
** 85-140 dB เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยรูปแบบต่อเนื่อง[R]Ejecting Mantra - ต้านมนตร์ **